วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

เกษตรพืชไร่ และการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ตัวอย่างพืชไร่ 
                                                                                                                                                         ประเภทอาหารสัตว์ ได้แก่ ข้าวโพด ข้างฟ่าง ประเภทใช้เมล็ด ได้แก่ ข้าวโพด ข้างฟ่าง และต้นถั่วสำหรับเป็นอาหารสัตว์ ประเภทคลุมดิน ได้แก่ พืชตระกูลถั่ว ประเภทใช้หัว ได้แก่ มันฝรั่ง มันเทศ มันสำปะหลัง ประเภทสมุนไพร ได้แก่ ฟ้าทลายโจร ตะไคร้หอม ขมิ้น ประเภทเส้นใย ได้แก่ ฝ้าย ปอ ป่าน ประเภทให้น้ำมัน ได้แก่ ถั่วเหลือง ละหุ่ง ทานตะวัน งา ประเภทให้น้ำตาล ได้แก่ อ้อย มะพร้าว ตาล



















การศึกษาการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์นครสวรรค์ 72 ของเกษตรกรปีเพาะปลูก 2544/45 มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของผลผลิต และต้นทุน การผลิตระหว่างการผลิตข้าวโพดพันธุ์นครสวรรค์ 72 กับ พันธุ์ลูกผสมอื่น ศึกษาผลผลิต ต้นทุนและรายได้ในการผลิตข้าวโพดโดยเปรียบเทียบ ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดพันธุ์นครสวรรค์ 72 ของเกษตรกรในปัจจุบัน โดยใช้ข้อมูลจากเกษตรกรตัวอย่างซึ่งผลิตข้าวโพดปีเพาะปลูก 2544/45 ทั้งพันธุ์นครสวรรค์ 72 และพันธุ์ลูกผสมอื่นไปพร้อมกันในพื้นที่ปลูกซึ่งมีสภาพใกล้เคียงกัน
ผลการศึกษาปรากฏว่า ด้านเทคโนโลยีการผลิต เกษตรกรเตรียมดิน 2-3 ครั้ง ด้วยเครื่องจักร ใช้เครื่องจักรปลูก อัตราเมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 2.96 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับพันธุ์นครสวรรค์ 72 และ 3.21 กิโลกรัม พันธุ์ลูกผสมอื่น ทุกรายใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 16-20-0, 15-15-15, 46-0-0 อัตราเฉลี่ย 37.57 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับพันธุ์นครสวรรค์ 72 และ 38.16 กิโลกรัม พันธุ์ลูกผสมอื่น โดยใส่ 1-2 ครั้ง ด้วยเครื่องจักร ปุ๋ยอินทรีย์ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่นิยมใช้ กำจัดวัชพืช 1 - 2 ครั้ง

มีทั้งด้วยสารเคมีและเครื่องจักร โดยทำพร้อมปลูกและและหลังปลูก ไม่มีกิจกรรมการป้องกันกำจัดแมลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่พบการใช้การเคมีเพื่อป้องกันและกำจัดแมลงเลย การเก็บเกี่ยว เกษตรกรยังคงใช้แรงงานคน การกะเทาะเมล็ดทำด้วยเครื่องจักร
ต้นทุนการผลิตรวม ของพันธุ์นครสวรรค์ 72 ประมาณ 1,655 บาทต่อไร่ หรือ 2.96 บาทต่อกิโลกรัม พันธุ์อื่น 1,840 บาทต่อไร่ หรือ 2.69 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อเทียบกันพบว่า พันธุ์อื่นสูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์72 ประมาณ 184 บาทต่อไร่ แต่ต้นทุนต่อกิโลกรัมพันธุ์นครสวรรค์ 72 สูงกว่าพันธุ์อื่น ประมาณ 0.27 บาทต่อกิโลกรัม

ผลตอบแทนการผลิต พันธุ์นครสวรรค์ 72 ให้ผลผลิตประมาณ 560 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นมูลค่า 2,009 บาท และมีกำไรสุทธิ 444 บาทต่อไร่ ส่วนพันธุ์อื่นให้ผลผลิต 683 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นมูลค่า 2,562 บาท กำไรสุทธิ 722 บาทต่อไร่ โดยเปรียบเทียบพันธุ์นครสวรรค์ 72 ให้ผลตอบแทนในรูปกำไรสุทธิน้อยกว่าประมาณ 278 บาทต่อไร่
ข้อคิดเห็นของเกษตรกรต่อข้าวโพดพันธุ์นครสวรรค์ 72 ข้อเสีย แกนเหนียวฝักหักยากส่งผลให้หาแรงงานหักยากหรือต้องจ้างราคาสูงขึ้น มีเมล็ดติดไปกับแกนมากเมื่อกะเทาะเมล็ด เมล็ดมีสีดำเมื่อเก็บไว้นาน ข้อดี เมล็ดพันธุ์มีราคาถูกกว่าพันธุ์ลูกผสมอื่นตามท้องตลาดมาก ลำต้นแข็งแรงไม่ล้มแม้จะทิ้งให้ฝักแห้งจึงเหมาะที่จะใช้เครื่องจักรเก็บเกี่ยว สามารถทนต่อสภาพน้ำขังได้ดีกว่าพันธุ์อื่น

การทดสอบความแตกต่างและขนาดความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยค่า t พบว่า ผลผลิตต่อไร่ ต้นทุน และรายได้จากการผลิตของพันธุ์ลูกผสมอื่นสูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 72 อย่างมีนัยสำคัญ ณ.ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และเมื่อทดสอบหาขนาดของความแตกต่าง พบว่า ณ.ระดับนัยสำคัญ 0.06 – 0.10 ผลผลิตของพันธุ์อื่นสูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 72 ตั้งแต่ 15 – 36 กิโลกรัมต่อไร่ และต้นทุนการผลิตของพันธุ์อื่นสูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 72 ประมาณ 74 – 101 บาทต่อไร่
หากพิจารณาเฉพาะค่าเฉลี่ยของต้นทุนและผลตอบแทนแล้วเกษตรกรควรลงทุนโดยใช้พันธุ์ลูกผสมอื่น แต่เมื่อพิจารณาร่วมกับขนาดของความแตกต่างของค่าเฉลี่ยพบว่า เกษตรกรผู้มีเงินทุนน้อยหรือกู้เงินมาลงทุนควรลดความเสี่ยงด้วยการใช้พันธุ์นครสวรรค์ 72 ในขณะที่เกษตรกรที่มีเงินทุนเป็นของตนเองและรับความเสี่ยงได้สามารถลงทุนใช้พันธุ์ลูกผสมอื่นได้

ข้อเสนอแนะ เพื่อให้ได้รับประสิทธิภาพปุ๋ยเคมีสูงสุดควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรมีความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพ ทั้งเรื่อง ปริมาณ วิธีใช้ ช่วงเวลา และสูตร ที่เหมาะสมตามสภาพพื้นที่ นอกจากนี้ รัฐควรส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรได้รับการวิเคราะห์ดินและนำผลการวิเคราะห์ไปใช้กำหนดชนิดและปริมาณปุ๋ยเคมีได้อย่างเหมาะสมควบคู่กับส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรผสมปุ๋ยเคมีใช้เองปุ๋ยเคมีส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดได้มาจากการนำเข้า
ทั้งมีแนวโน้มของราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาผลผลิต เพื่อลดการพึ่งพาปุ๋ยเคมีจำเป็นต้องสร้างเสริม สนับสนุน ให้เกษตรกรหันมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีบางส่วน ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิต และเป็นการอนุรักษ์ดินให้อุดมสมบรูณ์และใช้ได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย เนื่องจากพันธุ์นครสวรรค์ 72 ยังมีจุดด้อยเมื่อเทียบกับพันธุ์ลูกผสมอื่น รัฐต้องช่วยเหลือและสนับสนุนอย่างจริงจังให้กรมวิชาการเกษตรหรือสถาบันการศึกษาสามารถปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้น
ในขณะที่ยังคงมีราคาถูกเพื่อเป็นทางเลือกของเกษตรกรต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น