วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ไร่สตอเบอรี่ขั้นบันได

ไร่สตอเบอรี่

การท่องเที่ยวไร่สตอเบอรี่ จะเป็นโปรแกรมท่องเที่ยวที่ถูกใส่ไว้ในโปรแกรมท่องเที่ยวดอยอ่างข่าง หลังจากชมทะเลหมอกในยามเช้าสำหรับนักท่องเที่ยว ที่เหมารถสองแถมท่องเที่ยวบนดอยอ่างขาง หรือหากไม่มีในโปรแกรมก็สามารถบอกคนขับให้พามาที่นี่ได้ หรือถ้าขับรถมาเอง ไร่ไร่สตอเบอรี่ จะอยู่ในเส้นทางไปบ้านนอแล ซึ่งก็อยู่ห่างจากบ้านนอแลไปไม่ไกลนัก หากไปไม่ถูกก็ถามชาวบ้านในละแวกนั้นได้

ไร่สตอเบอรี่่



มองผิวเผินก็คล้ายๆ กับไร่ชา เหมือนกัน

ไร่สตอเบอรี่



แดดอุ่นๆ ส่องมาในยามเช้า แอบหลงเสน่ห์ไร่สตอเบอรี่เต็มๆ สามารถลงไปเดินเล่นตามทางเดินที่ได้จัดทำไว้


ไร่สตอเบอรี่



หากต้องการเจอ ผลสตอเบอรี่ สีแดงๆ แบบนี้ แนะนำให้มาในช่วง ม ค – ก พ ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังปลกและเก็บเกี่ยวสตอเบอรี่

ไร่สตอเบอรี่


ไร่สตอเบอรี่



ชาวบ้านกำลังคัด สตอเบอรี่ บรรจุใส่กล่อง

ไร่สตอเบอรี่



ไร่สตอเบอรี่

หลังจากที่เคยเห็นแต่ภาพในหนังสือท่องเที่ยฉบับหนึ่งของ ท ท ท เขียนอธิบายเป็นตัวหนังสือเล็กใต้ภาพว่า ไร่สตอเบอรี่ดอยอ่างข่าง ก็ตั้งปณิธานในใจว่าซักวันต้องมาเที่ยวและเก็บภาพที่นี่ให้ได้ และก็ได้สมใจ บอกได้คำเดียวว่าคุ้มค้าและประทับใจมากค่ะ

ไร่สตอเบอรี่
ไร่สตอเบอรี่



 

สตอเบอรี่ ถือเป็นผลไม้เมืองหนาวซึ่งรสชาติและความหอม เป็นที่โปรดปรานของใครหลายคน ยิ่งหากได้มาทางภาคเหนือแล้วเราก็จะได้ลิ้มความหวานอร่อยของสตเบอรี่สดๆ จากไร่เลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้การท่องเที่ยวชมไร่สตอเบอรี่ จึงกลายเป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ไร่สตอเบอรี่ ในภาคเหนือที่ปลูกกันเป็นล่ำเป็นสัน ก็คงจะเป็นจังหวัดเชียงใหม่ ถือเป็นพืชเศรษฐกิจของที่นี่ เพราะฉะนั้นหากต้องการเที่ยวไร่สตอเบอรี่ต้องนึกถึง เชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็นไร่สตอเบอรี่ สะเมิง ที่ขึ้นชื่อ หรือจะเป็น ตามสวนเกษตรต่างๆ แต่ไปด้วยกันอยากจะแนะนำ คือ ไร่สตอเบอรี่บนดอยอ่างขาง ซึ่งเป็นของโครงการหลวง เป็น ไร่สตอเบอรี่ สุด Unseen ที่งดงามและหาดูที่ไหนไม่ได้

เกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอร์รี่อาจทำการผลิตต้นไหลสตรอเบอร์รี่เพื่อใช้ปลูกเอง หรือจะใช้ซื้อต้นไหลมาปลูกก็ได้ หากเกษตรกรจะทำการผลิตต้นไหลไว้ใช้ปลูกเองหรือเพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรผู้ปลูกรายอื่นมีข้อควรพิจารณาดังนี้

1. ต้นแม่พันธุ์ ต้นแม่พันธุ์จะต้องมีลักษณะดี คือ มีการสร้างไหลที่แข็งแรงและปริมาณมากตรงตามสายพันธุ์ ให้ผลผลิตสูง ปลอดจากโรค โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส

2. พื้นที่ที่ผลิตต้นไหล พื้นที่ที่เหมาะสมกับการผลิตต้นไหลจะ2. พื้นที่ที่ผลิตต้นไหล พื้นที่ที่เหมาะสมกับการผลิตต้นไหลจะต้องสะอาดปลอดจากเชื้อสาเหตุของโรค โดยเฉพาะเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรดโนส ใกล้แหล่งน้ำ สามารถนำน้ำมาใช้ได้ในช่วงฝนทิ้งช่วง การคมนาคมสะดวก สามารถขนย้ายวัสดุเพาะชำไปยังแปลงแม่พันธุ์ และขนส่งต้นไหลไปยังแหล่งปลูกได้โดยไม่บอบช้ำเสียหาย และที่สำคัญที่สุดก็คือ ความสูงของพื้นที่ จากสาเหตุที่เมื่อช่วงแสงของวันสั้นลงและอุณหภูมิของอากาศเย็นลง ทำให้ต้นสตรอเบอร์รี่เปลี่ยนสภาพการเจริญเติบโตทางด้านสร้างไหลต้นไหล เป็นสภาพการเจริญเติบโตทางสร้างตาดอก ซึ่งส่งผลให้ต้นสตรอเบอร์รี่ที่เจริญเติบโตบนภูเขาสร้างตาดอกได้เร็วกว่าต้นสตรอเบอร์รี่บนพื้นที่ราบ เป็นผลให้ผลผลิตสตรอเบอร์รี่ที่เกิดจากต้นสตรอเบอร์รี่ที่ผลิตบนภูเขาที่มีอากาศหนาวเย็นออกสู่ตลาดได้เร็วกว่าผลผลิตสตรอเบอร์รี่พันธุ์เดียวกันที่เกิดจากต้นที่ผลิตจากพื้นที่ราบ ประกอบกับสภาพดินบนที่สูงหรือภูเขามีการระบายน้ำได้ดีกว่าพื้นที่ราบ ปัญหาโรคมีน้อยกว่า ทำให้ต้นไหลแข็งแรงมีคุณภาพดี ด้วยเหตุนี้จึงต้องผลิตต้นไหลสตรอเบอร์รี่บนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่ต่ำกว่า 1,000 เมตร มีอากาศหนาวเย็น แล้วขนต้นไหลลงมาปลูกยังพื้นที่ราบ แต่ทั้งนี้แหล่งผลิตต้นไหลจะต้องไม่เป็นพื้นที่ภายในลุ่มน้ำที่ควรจะต้องสงวนรักษาไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารโดยเฉพาะ

3. แรงงาน เนื่องจากกระบวนการผลิตต้นไหลสตรอเบอร์รี่เป็นงานที่ต้องใช้แรงงานมาก เริ่มตั้งแต่การเตรียมแปลงปลูกต้นแม่พันธุ์ การปลูกดูแลรักษาต้นแม่พันธุ์ บรรจุวัสดุเพาะชำลงถุง การรองไหล การตัดไหล และการขนย้ายเพื่อนำไปปลูก ดังนั้น ในการผลิตไหลจึงควรพิจารณาถึงแรงงานที่จะต้องใช้ด้วย


การเตรียมแปลงปลูก


ดังได้กล่าวแล้วว่าความสูงของพื้นที่ที่ใช้ในการผลิตต้นไหลมีผลต่อคุณภาพของต้นไหลที่ผลิตได้ โดยเฉพาะในเรื่องของการให้ผลผลิตเมื่อนำต้นสตรอเบอร์รี่ไปปลูก ดังนั้น เมื่อเราจำเป็นต้องทำการผลิตต้นไหลบนพื้นที่สูง ความลาดเทของพื้นที่ไม่ควรเกิน 15 % การเตรียมปลงปลูกต้องยกแปลงขวางแนวลาดเท (แบบขั้นบันได) เพื่อขจัดปัญหาการชะล้างและพังทะลายของดิน สำหรับการเตรียมดินก็ปฎิบัติเช่นเดียวกันกับการปลูกเพื่อต้องการผล


วิธีการปลูก


จะเริ่มปลูกต้นแม่พันธุ์ประมาณเดือนพฤษภาคม ปลูกแบบแถวเดี่ยวห่างจากสันแปลงด้านระดับสูงประมาณ 15 ซม. เพื่อให้มีพื้นที่เหลือสำหรับวางถุงเพาะชำต้นไหลจากสายไหลที่ทอดลงมา เว้นระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 80 - 90 ซม. ในระยะแรกต้องบำรุงต้นแม่พันธุ์ให้แข็งแรงพร้อมทั้งตัดไหลที่ออกมาทิ้งให้หมด เพื่อให้ต้นแม่พันธุ์แตกกอประมาณ 4 -5 ต้น/กอ ประมาณเดือนกรกฎาคมจึงเริ่มปล่อยให้ต้นแม่พันธุ์แตกไหลได้ตามปกติ หลังจากที่ต้นไหลโตและเริ่ม
มีตุ่มรากเกิดขึ้น ให้นำถุงพลาสติกขนาด 3 x 5 นิ้ว ที่ใส่วัสดุปลูกจะเป็นดินล้วนหรือดินผสมก็ได้มารองรับต้นไหล แล้วใช้ไม้ไผ่เล็กๆพับกลางเสียบยึดสายไหลให้ติดกับดินในถุงพลาสติก รอจนต้นไหลสร้างรากและแข็งแรงดี ประมาณปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน จึงตัดต้นไหลออกจากต้ตแม่พันธุ์โดยตัดสายไหลที่เจริญมาจากต้นแม่ห่างจากต้นไหลประมาณ 3 เซนติเมตร เพื่อป้องกันโรคเข้าต้นไหลและใช้ในการจับระดับปลูก ส่วนไหลด้านปลายให้ตัดชิดต้นไหล

การผลิตไหลอีกลักษณะหนึ่งคือ เกษตรกรไม่ต้องใช้วัสดุเพาะชำรองไหลในช่วงแรก ปล่อยให้ต้นแม่แตกไหลไปเรื่อยๆแล้วใช้วิธีตลบไหลขึ้นแปลง เพื่อไม่ให้รากยึดเกาะกับดินในแปลง รอจนถึงช่วงกลางเดือนสิงหาคมจึงเริ่มรองไหล

ต้นแม่พันธุ์ 1 กอ จะสามารถผลิตไหลได้ประมาณ 15 - 20 สาย ซึ่งแต่ละสายจะมีต้นไหลประมาณ 10 ต้น ในการนำไปปลูกเกษตรกรจะต้องคัดเลือกต้นไหลที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป จึงทำให้ในแต่ละกอมีต้นไหลที่สามารถปลูกได้ดีเพียง 40 - 60 ต้นเท่านั้น

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

ไร่องุ่น









องุ่นเป็นผลไม้ที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายรวดเร็วส่วนมากชาวไร่องุ่นจะซื้อพันธุ์
จากสถานที่จำหน่ายพันธุ์มาปลูกเพราะเป็นการสะดวกแต่ถ้าหากว่าผู้ปลูกทำ
การขยายพันธุ์เองจะเป็นการประหยัดและมีความมั่นใจพันธุ์ที่นำมาปลูก
อย่างไรก็ตาม ผู้ปลูกองุ่นควรมีความรู้ ความชำนาญสามารถขยายพันธุ์
ได้เองจะเป็นการลดต้นทุน ซึ่งการขยายพันธุ์องุ่นสามารถทำได้ถึง 6 วิธี
1. การเพาะเมล็ด
2. การตัดกิ่งปักชำ
3. การติดตา
4. การทับกิ่ง
5. การตอน
6. การต่อเสียบ
การขยายพันธุ์แต่ละวิธีมีขั้นตอนและรายละเอียด ดังนี้
1. การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
การขายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ ไม่ค่อยนิยมกันมากนัก เพราะพันธุ์ที่ได้จะออกดอก
ออกผลช้า ไม่ตรงตามพันธุ์ บางพันธุ์มีเมล็ดเว้นแต่จะทำการผสมพันธุ์แล้วเพาะเมล็ดเพื่อได้พันธุ์ที่ดีกว่าเดิม วิธีการเพาะเมล็ดทำได้โดยการเก็บเมล็ดจากผลองุ่นที่สุกแก่เต็มที่แล้ว นำไปเก็บไว้ในทรายชื้นหรือในตู้เย็นสัก 2 – 3 เดือน เพื่อให้มีการพักตัว หลังจากนั้นนำไปเพาะในกระบะหรือใน แปลงเพาะโดยใช้ขี้เถ้าแกลบผสมกับทรายหยาบและปุ๋ยคอกลงไปด้วย หว่านเมล็ดองุ่นลงในกระบะเพาะหรือในแปลงเพาะใช้หญ้าแห้งหรือฟางแห้งคลุมไว้เพื่อรักษาความชื้น รดน้ำให้ชุ่มชื้นทุกวันประมาณ 20 – 30 วัน จะเริ่มงอกแตกเป็นต้นสูงประมาณ 20 เซนติเมตรแยกนำไปชำในถุงพลาสติกหรือในแปลงชำ เมื่อลำต้นแข็งแรงสามารถนำไปปลูกในพื้นที่ที่เตรียมไว้
2. การขยายพันธุ์ด้วยการตัดกิ่งปักชำ
การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ จะได้พันธุ์ตรงตามพันธุ์เดิม โดยตัดจากกิ่งองุ่น
ที่แก่ มีอายุไม่เกิน 1 ปีควรใช้กิ่งขนาดกลาง มีข้อถี่ ตัดยาวประมาณ 7 – 8 นิ้ว เลือกกิ่งที่มีตาบริสุทธิ์ไม่บอดไม่เสียการปักชำ จะปักลงในกระบะทรายหรือในแปลงปักชำก็ได้ โดยใช้ขี้เถ้าแกลบผสมกับทรายและปุ๋ยคอก ราดด้วยยาฆ่าเชื้อราเช่น ยาบอร์โดมิกซ์เจอร์ แล้วนำกิ่งที่เตรียมไว้มาปักชำควรปักลงไปในดินไม่
น้อยกว่า 2 ข้อ มีตาเหลือพ้นดิน 2 – 3 ตา ควรปักให้เอนไปทางทิศตะวันตกหันตาไปทางทิศตะวันออก กดดินที่โคนกิ่งให้แน่น อย่าให้ถูกแสงแดดมาก รดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ แต่อย่าให้แฉะ ประมาณ 15 – 20 วัน ก็จะแตกใบอ่อน เมื่อแตกกิ่งและมีใบแข็งแรง ให้แยกไปชำในถุงพลาสติกที่บรรจุดินผสมปุ๋ยคอก และขี้เถ้าแกลบ เพื่อให้เติบโตจึงนำไปปลูกต่อไปหรือจะนำไปชำในแปลงชำ จนกระทั่งสามารถ นำไปปลูกในไร่ได้ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 7 – 8 เดือน อย่าชำไว้นานเพราะเมื่อย้ายไปปลูกจะทำให้ต้นแคระแกรน ลำบากต่อการย้ายไปปลูกซึ่งการย้ายกิ่งปักชำไปปลูกในไร่ให้ตัดเถาเหลือ 2 – 3 ตา พ่นยาป้องกันโรคก็สามารถปลูกในไร่ต่อไปได้
3. การขยายพันธุ์ด้วยวิธีติดตา
การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ ส่วนใหญ่จะทำเพื่อนำตาขององุ่นพันธุ์ดีไปติดกับต้นตอ
ที่เป็นพันธุ์ไม่ดีแต่แข็งแรงวิธีทำให้เฉือนตาต้นพันธุ์ดีเข้าไปในเนื้อไม้แล้วบากต้นตอให้มีลักษณะเดียวกับตาที่เฉือนมา นำเนื้อไม้ที่มีตาสอดเข้าไปในรอยบากของต้นตอมัดด้วยเชือกพลาสติกหรือเชือกกล้วย แล้วพันด้วยผ้าพลาสติก หรือผ้าชุบขี้ผึ้งโดยเปิดตาไว้ เมื่อตาแตกกิ่งและรอยที่ต่อติดแน่นแล้ว จึงแก้เชือกและผ้าพลาสติกที่พันออก อย่าปล่อยทิ้งไว้ให้นานมาก หากไม่แก้ออกจะทำให้กิ่งคอดไม่เติบโต
4. การขยายพันธุ์ด้วยการทับกิ่ง
การขยายพันธุ์องุ่นด้วยวิธีนี้ สามารถขยายพันธุ์กับองุ่นได้ทุกพันธุ์ซึ่งได้ผลแน่นอนวิธีทำก็คือโน้นเถาองุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ตัดแขนง ใบ และยอดอ่อนทิ้ง นอนเถาลงในรางที่ขุดลึก3 – 5 นิ้ว  ใช้ไม้ไผ่หรือลวดทำเป็นง่ามปักคร่อมเถาไว้ ป้องกันการหลุดเลื่อน ใช้ดินผสมกับ ปุ๋ยคอก หรือหญ้าผุ ๆกลบทับให้มิดพูนดินทับให้สูงกว่าระดับดินคลุมด้วยหญ้าหรือฟางรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ ประมาณ 1 – 2 เดือนก็จะออกรากตามข้อกิ่งและแตกยอดเป็นกระโดงเมื่อพ้นดินพอสมควรแล้วให้ตัดเป็นท่อนๆระหว่างข้อให้มียอดกระโดงท่อนละ 1 กระโดงนำไปชำในถุงพลาสติกเมื่อตั้งตัวแข็งแรงดีแล้วก็สามารถนำไปปลูกได้
5. การขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอน
การตอนเพื่อการขยายพันธุ์องุ่นไม่เหมือนกันกับการตอนต้นไม้ทั่ว ๆ ไปซึ่งต้องควั่นกิ่งส่วนการตอนต้นองุ่น  ให้นำดินหุ้มตรงข้อแล้วใช้มอสหรือกาบมะพร้าวหุ้มดินห่อด้วยพลาสติกหรือใบตองรดน้ำให้ชุ่มชื้
ประมาณ 10 – 15 วัน ก็ออกรากหลังจากนั้นตัดกิ่งตอนนำไปชำในกระบะทรายหรือขี้เถาแกลบเมื่อกิ่งตอนแตกใบแข็งแรงดีแล้ว สามารนำไปปลูกได้
6. การขยายพันธุ์ด้วยการต่อเสียบ
การขยายพันธุ์ด้วยการต่อเสียบทำได้หลายวิธี แต่จะกล่าวเฉพาะการต่อเสียบในแปลง วิธีทำก็คือขุดดินโคนต้นองุ่นที่ใช้ทำเป็นต้นตอ ลึกประมาณ 4 – 5 นิ้วแล้วใช้มีดหรือเลื่อยตัดต้นตอให้เสมอระดับดินหลังจากนั้นใช้มีดคม ๆ ผ่าต้นตอตรงกลางเพื่อให้แยกออกเป็น 2 ส่วน ลึกประมาณ 2 นิ้ว ตัดกิ่งองุ่นพันธุ์ดี
มีตาบริสุทธิ์ เอามีดปาดกิ่งให้เป็นลิ่มแล้วเสียบลงในช่องของต้นตอที่ผ่าไว้ให้เปลือกของกิ่งกับเปลือกของต้นตอประสานกันให้สนิท ใช้เชือกหรือพลาสติกพันรัดให้แน่น กลบดินพูนขึ้นทับตาบนกิ่งพันธุ์ดีเมื่อตาแตกกิ่งให้เอาเชือกหรือพลาสติกออก กิ่งองุ่นที่เสียบใหม่จะเจริญเติบโตเป็นองุ่นพันธุ์ดีต่อไป

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

เกษตรพืชไร่ และการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ตัวอย่างพืชไร่ 
                                                                                                                                                         ประเภทอาหารสัตว์ ได้แก่ ข้าวโพด ข้างฟ่าง ประเภทใช้เมล็ด ได้แก่ ข้าวโพด ข้างฟ่าง และต้นถั่วสำหรับเป็นอาหารสัตว์ ประเภทคลุมดิน ได้แก่ พืชตระกูลถั่ว ประเภทใช้หัว ได้แก่ มันฝรั่ง มันเทศ มันสำปะหลัง ประเภทสมุนไพร ได้แก่ ฟ้าทลายโจร ตะไคร้หอม ขมิ้น ประเภทเส้นใย ได้แก่ ฝ้าย ปอ ป่าน ประเภทให้น้ำมัน ได้แก่ ถั่วเหลือง ละหุ่ง ทานตะวัน งา ประเภทให้น้ำตาล ได้แก่ อ้อย มะพร้าว ตาล



















การศึกษาการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์นครสวรรค์ 72 ของเกษตรกรปีเพาะปลูก 2544/45 มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของผลผลิต และต้นทุน การผลิตระหว่างการผลิตข้าวโพดพันธุ์นครสวรรค์ 72 กับ พันธุ์ลูกผสมอื่น ศึกษาผลผลิต ต้นทุนและรายได้ในการผลิตข้าวโพดโดยเปรียบเทียบ ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดพันธุ์นครสวรรค์ 72 ของเกษตรกรในปัจจุบัน โดยใช้ข้อมูลจากเกษตรกรตัวอย่างซึ่งผลิตข้าวโพดปีเพาะปลูก 2544/45 ทั้งพันธุ์นครสวรรค์ 72 และพันธุ์ลูกผสมอื่นไปพร้อมกันในพื้นที่ปลูกซึ่งมีสภาพใกล้เคียงกัน
ผลการศึกษาปรากฏว่า ด้านเทคโนโลยีการผลิต เกษตรกรเตรียมดิน 2-3 ครั้ง ด้วยเครื่องจักร ใช้เครื่องจักรปลูก อัตราเมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 2.96 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับพันธุ์นครสวรรค์ 72 และ 3.21 กิโลกรัม พันธุ์ลูกผสมอื่น ทุกรายใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 16-20-0, 15-15-15, 46-0-0 อัตราเฉลี่ย 37.57 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับพันธุ์นครสวรรค์ 72 และ 38.16 กิโลกรัม พันธุ์ลูกผสมอื่น โดยใส่ 1-2 ครั้ง ด้วยเครื่องจักร ปุ๋ยอินทรีย์ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่นิยมใช้ กำจัดวัชพืช 1 - 2 ครั้ง

มีทั้งด้วยสารเคมีและเครื่องจักร โดยทำพร้อมปลูกและและหลังปลูก ไม่มีกิจกรรมการป้องกันกำจัดแมลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่พบการใช้การเคมีเพื่อป้องกันและกำจัดแมลงเลย การเก็บเกี่ยว เกษตรกรยังคงใช้แรงงานคน การกะเทาะเมล็ดทำด้วยเครื่องจักร
ต้นทุนการผลิตรวม ของพันธุ์นครสวรรค์ 72 ประมาณ 1,655 บาทต่อไร่ หรือ 2.96 บาทต่อกิโลกรัม พันธุ์อื่น 1,840 บาทต่อไร่ หรือ 2.69 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อเทียบกันพบว่า พันธุ์อื่นสูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์72 ประมาณ 184 บาทต่อไร่ แต่ต้นทุนต่อกิโลกรัมพันธุ์นครสวรรค์ 72 สูงกว่าพันธุ์อื่น ประมาณ 0.27 บาทต่อกิโลกรัม

ผลตอบแทนการผลิต พันธุ์นครสวรรค์ 72 ให้ผลผลิตประมาณ 560 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นมูลค่า 2,009 บาท และมีกำไรสุทธิ 444 บาทต่อไร่ ส่วนพันธุ์อื่นให้ผลผลิต 683 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นมูลค่า 2,562 บาท กำไรสุทธิ 722 บาทต่อไร่ โดยเปรียบเทียบพันธุ์นครสวรรค์ 72 ให้ผลตอบแทนในรูปกำไรสุทธิน้อยกว่าประมาณ 278 บาทต่อไร่
ข้อคิดเห็นของเกษตรกรต่อข้าวโพดพันธุ์นครสวรรค์ 72 ข้อเสีย แกนเหนียวฝักหักยากส่งผลให้หาแรงงานหักยากหรือต้องจ้างราคาสูงขึ้น มีเมล็ดติดไปกับแกนมากเมื่อกะเทาะเมล็ด เมล็ดมีสีดำเมื่อเก็บไว้นาน ข้อดี เมล็ดพันธุ์มีราคาถูกกว่าพันธุ์ลูกผสมอื่นตามท้องตลาดมาก ลำต้นแข็งแรงไม่ล้มแม้จะทิ้งให้ฝักแห้งจึงเหมาะที่จะใช้เครื่องจักรเก็บเกี่ยว สามารถทนต่อสภาพน้ำขังได้ดีกว่าพันธุ์อื่น

การทดสอบความแตกต่างและขนาดความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยค่า t พบว่า ผลผลิตต่อไร่ ต้นทุน และรายได้จากการผลิตของพันธุ์ลูกผสมอื่นสูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 72 อย่างมีนัยสำคัญ ณ.ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และเมื่อทดสอบหาขนาดของความแตกต่าง พบว่า ณ.ระดับนัยสำคัญ 0.06 – 0.10 ผลผลิตของพันธุ์อื่นสูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 72 ตั้งแต่ 15 – 36 กิโลกรัมต่อไร่ และต้นทุนการผลิตของพันธุ์อื่นสูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 72 ประมาณ 74 – 101 บาทต่อไร่
หากพิจารณาเฉพาะค่าเฉลี่ยของต้นทุนและผลตอบแทนแล้วเกษตรกรควรลงทุนโดยใช้พันธุ์ลูกผสมอื่น แต่เมื่อพิจารณาร่วมกับขนาดของความแตกต่างของค่าเฉลี่ยพบว่า เกษตรกรผู้มีเงินทุนน้อยหรือกู้เงินมาลงทุนควรลดความเสี่ยงด้วยการใช้พันธุ์นครสวรรค์ 72 ในขณะที่เกษตรกรที่มีเงินทุนเป็นของตนเองและรับความเสี่ยงได้สามารถลงทุนใช้พันธุ์ลูกผสมอื่นได้

ข้อเสนอแนะ เพื่อให้ได้รับประสิทธิภาพปุ๋ยเคมีสูงสุดควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรมีความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพ ทั้งเรื่อง ปริมาณ วิธีใช้ ช่วงเวลา และสูตร ที่เหมาะสมตามสภาพพื้นที่ นอกจากนี้ รัฐควรส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรได้รับการวิเคราะห์ดินและนำผลการวิเคราะห์ไปใช้กำหนดชนิดและปริมาณปุ๋ยเคมีได้อย่างเหมาะสมควบคู่กับส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรผสมปุ๋ยเคมีใช้เองปุ๋ยเคมีส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดได้มาจากการนำเข้า
ทั้งมีแนวโน้มของราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาผลผลิต เพื่อลดการพึ่งพาปุ๋ยเคมีจำเป็นต้องสร้างเสริม สนับสนุน ให้เกษตรกรหันมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีบางส่วน ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิต และเป็นการอนุรักษ์ดินให้อุดมสมบรูณ์และใช้ได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย เนื่องจากพันธุ์นครสวรรค์ 72 ยังมีจุดด้อยเมื่อเทียบกับพันธุ์ลูกผสมอื่น รัฐต้องช่วยเหลือและสนับสนุนอย่างจริงจังให้กรมวิชาการเกษตรหรือสถาบันการศึกษาสามารถปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้น
ในขณะที่ยังคงมีราคาถูกเพื่อเป็นทางเลือกของเกษตรกรต่อไป